เทคนิคเลือกตำแหน่งห้องครัวให้เหมาะสมกับบ้านเรา
ห้องครัว เป็นห้องที่เรียกได้ว่า เป็นเหมือนกับหัวใจของบ้านอีกห้องนึงเลยก็ว่าได้ หากคุณเคยได้ยินวลีเด็ดที่ว่า “กองทัพต้องเดินด้วยท้อง” แน่นอนว่า ชีวิตของเราไม่สามารถดำเนินไปได้ถ้าหากขาดของกิน (ฮ่าๆ)
ดังนั้นห้องครัว จึงเป็นเหมือนศูนย์รวมอาหาร ของกินเยอะแยะมากมาย ที่เวลาหิวเราก็แค่เดินเข้าห้องครัวไปเปิดตู้เย็นหาอะไรกิน หรือหยิบวัตถุดิบออกมาทำอาหารอร่อยๆทานร่วมกันทั้งครอบครัวใช่ไหมล่ะ ?
ดังนั้นการจัดวางห้องครัว จึงต้องมีความเหมาะสม ทั้งสภาพแวดล้อม และลักษณะการใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ทุกการใช้งานของสมาชิกทุกคนภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ตำแหน่งของห้องครัว ก็ขึ้นยู่กับขนาดของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นครัวแบบเปิด หรือแบบปิดภายในบ้าน ทิศทางการรับแสงและลม ให้ผ่านเข้ามาตามช่องประตู หน้าต่าง และช่องแสง จะต้องจัดอย่างสมดุลและลงตัว ที่จะต้องมาควบคู่กับความสวยงาม
การจัดวางห้องครัว ควรอยู่ในทิศที่มีแสงสว่างส่องเข้าถึง เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และไล่ความชื้นภายในห้องครัว โดยเฉพาะบริเวญอ่างล้างจานควรอยู่ใกล้กับช่องหน้าต่าง จะได้ช่วยกันถ่ายเทและระบายกลิ่นเวลาทำกับข้าว อีกทั้งยังช่วยทำให้ห้องครัวปลอดโปร่งและเย็นสบายอีกด้วย
แสงจากทางทิศเหนือให้ความสว่างกับห้องครัวได้ตลอดทั้งวัน แต่ไม่เกิดความร้อน เพราะไม่ใช่ทิศทางโคจรของดวงอาทิตย์
แสงจากทางทิศใต้มักจะส่องห้องครัวในช่วงฤดูหนาว และจะให้แสงพอเหมาะในช่วงฤดูร้อน การที่ทำช่องแสงบนหลังคาทางทิศใต้ จะช่วยให้ห้องครัวได้รับแสงในช่วงฤดูหนาวได้เต็มที่ เพราะในช่วงฤดูหนาว พระอาทิตย์จะเอียงอ้อมไปทางทิศใต้หน่อยๆค่ะ
แสงจากทางทิศตะวันออก ห้องครัวที่หันไปทางทิศนี้ จะได้รับแสงแดดตอนเช้า ทำให้ห้องได้รับแสงสว่างและความร้อนเต็มที่ เพราะเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น
แสงจกทิศตะวันตก ห้องครัวจะได้รับแดดยามบ่ายแบบเต็มๆ ไปจนถึงตอนเย็นเลยทีเดียว แต่แนะนำให้ติดมูลี่ หรือม่านบังแสงเอาไว้สักเล็กน้อย เพราะว่าแสงยามบ่ายอาจจะร้อนสักหน่อย เวลาประกอบอาหาร อาจจะมีอุณภูมิภายในห้องที่สูงมากกว่าปกติ
โดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางห้องครัวมากที่สุด จะเป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่รับแสงและลมได้อย่างพอเหมาะ
ส่วนถ้าเป็นความเชื่อในเรื่องของฮวงจุ้ย จะชอบให้ห้องครัว อยู่ทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้ เพราะทางทิศตะวันออกจะได้รับแสงอ่อนๆยามเช้า ไปจนถึงเที่ยง และช่วงบ่ายจะเย็นสบายเวลาทำกับข้าว ส่วนทางทิศใต้จะมีลมพัดผ่าน ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี
ภาพจาก Wharfside
การจัดห้องครัวอย่างเหมาะสม
ดังนั้นการจัดวางห้องครัว จึงต้องมีความเหมาะสม ทั้งสภาพแวดล้อม และลักษณะการใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ทุกการใช้งานของสมาชิกทุกคนภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ตำแหน่งของห้องครัว ก็ขึ้นยู่กับขนาดของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นครัวแบบเปิด หรือแบบปิดภายในบ้าน ทิศทางการรับแสงและลม ให้ผ่านเข้ามาตามช่องประตู หน้าต่าง และช่องแสง จะต้องจัดอย่างสมดุลและลงตัว ที่จะต้องมาควบคู่กับความสวยงาม
ภาพจาก House Beautiful
ทิศของแสงกับห้องครัว
การจัดวางห้องครัว ควรอยู่ในทิศที่มีแสงสว่างส่องเข้าถึง เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และไล่ความชื้นภายในห้องครัว โดยเฉพาะบริเวญอ่างล้างจานควรอยู่ใกล้กับช่องหน้าต่าง จะได้ช่วยกันถ่ายเทและระบายกลิ่นเวลาทำกับข้าว อีกทั้งยังช่วยทำให้ห้องครัวปลอดโปร่งและเย็นสบายอีกด้วย
แสงจากทางทิศเหนือ
แสงจากทางทิศเหนือให้ความสว่างกับห้องครัวได้ตลอดทั้งวัน แต่ไม่เกิดความร้อน เพราะไม่ใช่ทิศทางโคจรของดวงอาทิตย์
แสงจากทางทิศใต้
แสงจากทางทิศใต้มักจะส่องห้องครัวในช่วงฤดูหนาว และจะให้แสงพอเหมาะในช่วงฤดูร้อน การที่ทำช่องแสงบนหลังคาทางทิศใต้ จะช่วยให้ห้องครัวได้รับแสงในช่วงฤดูหนาวได้เต็มที่ เพราะในช่วงฤดูหนาว พระอาทิตย์จะเอียงอ้อมไปทางทิศใต้หน่อยๆค่ะ
ภาพจาก thejaingroup.com
แสงจากทางทิศตะวันออก
แสงจากทางทิศตะวันออก ห้องครัวที่หันไปทางทิศนี้ จะได้รับแสงแดดตอนเช้า ทำให้ห้องได้รับแสงสว่างและความร้อนเต็มที่ เพราะเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น
แสงจากทางทิศตะวันตก
แสงจกทิศตะวันตก ห้องครัวจะได้รับแดดยามบ่ายแบบเต็มๆ ไปจนถึงตอนเย็นเลยทีเดียว แต่แนะนำให้ติดมูลี่ หรือม่านบังแสงเอาไว้สักเล็กน้อย เพราะว่าแสงยามบ่ายอาจจะร้อนสักหน่อย เวลาประกอบอาหาร อาจจะมีอุณภูมิภายในห้องที่สูงมากกว่าปกติ
ตำแหน่งที่เหมาะสม
โดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางห้องครัวมากที่สุด จะเป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่รับแสงและลมได้อย่างพอเหมาะ
ส่วนถ้าเป็นความเชื่อในเรื่องของฮวงจุ้ย จะชอบให้ห้องครัว อยู่ทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้ เพราะทางทิศตะวันออกจะได้รับแสงอ่อนๆยามเช้า ไปจนถึงเที่ยง และช่วงบ่ายจะเย็นสบายเวลาทำกับข้าว ส่วนทางทิศใต้จะมีลมพัดผ่าน ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี
ภาพจาก lowes.com
Post a Comment