Header Ads

test
Homepro Promotion

ออกแบบบ้านเย็นฉ่ำชื่นใจ สบายทั้งกาย ผ่อยคลายทั้งจิตใจ ฟินแค่ไหนมาดูกัน

พอเริ่มเข้าเดือนมีนาคม เมษายน เป็นเดือนที่เริ่มต้นฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ และช่วงเมษานี่แหละ จะร้อนมากเป็นพิเศษ ร้อนจนรู้สึกว่า พระอาทิตย์ไม่ต้องรักประเทศไทยมากก็ได้ กอดเสียแน่นจนร้อนอบอ้าวไปหมดแล้ว !

ภาพจาก Columbia Heating & Cooling

แต่ก็อย่างว่าล่ะค่ะ บ้านเมืองเรา เป็นเมืองร้อน ตลอดทั้งปีแทบจะไม่มีฤดูอื่นเลยนอกจากฤดูร้อน … ภูมิประเทศเป็นสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เราสามารถเลี่ยงอากาศร้อนได้ด้วยการออกแบบบ้านของเรา ให้สอดรับกับภูมิอากาศ ปรับบ้านเย็นสบายท้าลมร้อนได้ตลอดทั้งปีอย่างอยู่หมัด

ออกแบบบ้านเย็นฉ่ำชื่นใจ


สาเหตุหลักที่ทำให้บ้านของเราร้อนระอุ คือ ความร้อนจากแสงอาทิตย์ สาดส่องลงมาที่หลังคาบ้านของเราโดยตรง เมื่อหลังคาบ้านของเราร้อนนานเข้า ก็จะแผ่กระจายเข้าสู่ตัวบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่เทพื้นคอนกรีต ที่มีคุสมบัติอมความร้อน ก็จะสะสมความร้อนไว้ตลอดทั้งวัน

ภาพจาก Department of Energy

ความร้อนที่สะสม จะค่อยๆเทความร้อนออกหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน บ้านจึงมีความร้อนอบอ้าวมากขึ้นในช่วงเวลา 6 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม ถ้าหากคุณเปิดแอร์บ้าน ก็จะทำงานหนักมากขึ้น เพราะภายในบ้านมีความร้อนสะสมค่อนข้างสูง จึงต้องใช้พลังงานในการทำความเย็นมากขึ้นไปอีก

ดังนั้นวันนี้ เลยแวะเอาเทคนิคและเคล็ดลับการปรับบ้านให้เย็นฉ่ำ ตัดปัญามันเสียตั้งแต่ต้นลมมาฝากกัน เผื่อว่าใครกำลังจะออกแบบบ้านหรือกำลังก่อสร้างอยู่ล่ะก็ ลองหยิบเคล็ดลับในบทความนี้ไปใช้กันดูเนอะ บ้านจะได้เย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวชวนหงุดหงิดใจ

1. หลังคาบ้าน


อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการตัดไฟแต่ต้นลมไปเลย เพราะการที่บ้านเราร้อนอบอ้าว สาเหตุหลักๆคือ หลังคาบ้านของเราสะสมความร้อนและแผ่กระจายเข้ามาสู่ตัวบ้าน หลังคาบ้านที่เหมาะกับประเทศไทยมากที่สุดจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ …

1.1 โถงหลังคาทรงสูง + ช่องระบายอากาศ


ตามหลักของธรรมชาติ มวลอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงเสมอ การมีโถงหลังคาสูง จึงช่วยเพิ่มพื้นที่ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิศเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี และหากยิ่งเพิ่มช่องเพื่อระบายอากาศเข้าไปด้วย ความร้อนสะสมก็จะถูกถ่ายเทออกไปได้เร็วมากกว่า


1.2 ฉนวนกันความร้อน


นอกจากการออกแบบหลังคาให้สูงโปร่งแล้ว การเพิ่มฉนวนกันความร้อน ก็ช่วยทำให้บ้านของเราเย็นสบายได้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนไว้ที่ใต้หลังคา ป้องกันความร้อนเพิ่มไปอีกชั้น บอกเลยว่าช่วยได้เยอะเลยค่ะ

2. ผนังบ้านกันความร้อน


อีกช่องทางที่รับความร้อนจากแสงแดดแบบตรงๆคือ ผนังบ้าน ของเรานั้นเอง การเลือกวัสดุก่อผนังที่ดี ควรมีคุณสมบัติที่เป็นฉนวนกันความร้อน โดยเฉพาะตำแหน่งผนังบ้านทางทิศตะวันตก หรือทางทิศใต้ ที่ได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์เกือบตลอดทั้งวัน

โดยเฉพาะช่วงเที่ยงถึงบ่าย เป็นช่วงที่มีรังสีความร้อนสูงกว่าช่วงอื่น ดังนั้นควรก่อผนัง 2 ชั้น โดยระหว่างผนังให้เว้นระยะห่างประมาณ 5 เซนติเมตร และมีช่องลมด้านใต้ และด้านบน เพื่อระบายความร้อนออก

3. ช่องลม


อีกหลักการที่จะช่วยทำให้บ้านของคุณเย็นสบายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือเรื่องของ “ช่องลม” ที่จะช่วยหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายอากาศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีช่องลมเข้าและช่องลมออกเสมอ

ภาพจาก Conley Sheet Metal Works

หากที่บ้านมีช่องลมเพียงช่องเดียว ประสิทธิภาพการระบายอากาศจะลดลงอย่างมาก โดยช่องลมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ หน้าต่าง การออกแบบหน้าต่างในแต่ละห้อง จะต้องมี 2 ด้านขึ้นไป

ในกรณีที่ภายในห้องมีกำแพงด้านเดียว ให้เพิ่มหน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศที่ผนังด้านในบ้านเพิ่มเติม จะช่วยทำให้ลมไหลเวียนพัดผ่าน เข้าสู่ภายในตัวบ้าน ปัดเป่าความร้อนได้มากขึ้น

4. บริเวณนอกบ้าน


นอกจากเรื่องของหน้าต่าง และหลังคาบ้านแล้ว ยังมีอีกเคล็ดลับที่จะช่วยทำให้บ้านของเราเย็นสบายเหมือนกับอยู่ท่ามกลางธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยม คือการเพิ่มเติมธรรมชาติไว้รอบๆบริเวณบ้าน

ทางทิศตะวันตก หรือทิศใต้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตมีคุณสมบัติอมความร้อน สะสมเพิ่มตลอดทั้งวัน และคายตัวหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน ทำให้บ้านอบอ้าว ผู้อยู่อาศัยรู้สึกไม่สบายตัว

ภาพจาก sobear.me

วิธีการแก้ไขคือการแต่งแต้มธรรมชาติสีเขียวรอบๆบ้าน ปูพื้นด้วยหญ้า หรือ ไม้คลุมดิน จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้หน้าดิน ปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่ออาศัยร่มเงาสำหรับกันแดด ลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกชั้นนึง

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเคล็ดลับและวิธีการออกแบบบ้านให้เย็นสบายได้อย่างยาวนาน ถึงการทำอาจจะลงทุนสักหน่อย แต่การลงทุนครั้งนี้ถือว่าคุ้มมากๆในระยะยาว เพราะเมื่อบ้านของเราเย็นฉ่ำ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยปรับอุณภูมิบ่อยครั้ง ประหยัดค่าไฟไปในตัว แหมมม… สบายทั้งกาย และยังสบายกระเป๋าอีกด้วยเนอะ อิอิ

ไม่มีความคิดเห็น